Last updated: 29 ส.ค. 2567 | 18 จำนวนผู้เข้าชม |
ยากำจัดวัชพืช สารกำจัดวัชพืช
หรือ ยาฆ่าหญ้า เป็นสารกำจัดศัตรูพืชที่ใช้ฆ่าพืชที่ไม่ต้องการ ยากำจัดวัชพืชใช้ในการจัดการพื้นที่รกร้างหรือควบคุมวัชพืชในการเกษตร ยากำจัดวัชพืชมีการใช้อย่างกว้างขวางทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย ยาฆ่าหญ้ามีทั้งชนิดเลือกทำลายและไม่เลือกทำลาย ชนิดเลือกทำลาย มีฤทธิฆ่าพืชเฉพาะชนิด เช่น 2,4-D ซึ่งมีฤทธิ์ฆ่าทำลายเฉพาะพืชใบกว้าง โดยอาศัยส่วนประกอบทางเคมี ที่เป็นฮอร์โมนพืชสังเคราะห์ ซึ่งเมื่อถูกดูดซึม จะไปรบกวนเฉพาะกระบวนการเติบโตของพืชใบกว้าง ชนิดไม่เลือกทำลายมีฤทธิฆ่าพืชทุกชนิด เช่น ไกลโฟเซต และพาราคว็อท
สารกำจัดวัชพืช หมายถึง สารเคมีใด ๆ ก็ตาม ที่นำมาใช้เพื่อฆ่าทำลลาย หรือยับยั้งการเจริญเติบโตของวัชพืช ไม่ว่าจะเป็นในขณะที่วัชพืชงอกขึ้นมาแล้ว หรือยังเป็นเมล็ดอยู่ ตลอดจนชิ้นส่วนต่าง ๆ ของวัชพืชที่ขยายพันธุ์ได้ที่อยู่ในดิน หรืออยู่บนดิน
ประเภทของยาฆ่าหญ้า
ชนิดของสารกำจัดวัชพืช สามารถแบ่งชนิดออกได้หลายแบบ แต่ส่วนใหญ่นิยมจำแนกตามช่วงเวลาการใช้
สารกำจัดวัชพืชประเภทก่อนปลูก
ใช้พ่นก่อนการตรียมดิน เพื่อฆ่าวัชพืชที่ขึ้นอยู่ก่อน แล้วจึงไถเตรียมดิน หรือใช้พ่นฆ่าวัชพืชแทนการเตรียมดินแล้วปลูกพืชเลย สารกำจัดวัชพืชประเภทนี้ได้แก่ ไกลโฟเซต, พาราควอต, อาทราซีน และ อามีทรีน เป็นต้น
สารกำจัดวัชพืชประเภทก่อนงอก หรือที่เรียกกันว่ายาคุมหญ้า
จะใช้ฉีดพ่นหลังปลูกพืชไปแล้ว แต่ก่อนที่วัชพืชจะงอก ช่วงไม่เกิน 10 วัน เป็นการฉีดพ่นที่ผิวดินโดยตรง สารกำจัดวัชพืชจะเข้าไปทำลาย เมล็ด ราก และยอดอ่อนใต้ดินของวัชพืช ควรฉีดพ่นดินที่มีความชื้นเหมาะสม สารกำจัดวัชพืชประเภทนี้ ได้แก่ บิวทาคลอร์, เพรททิลาคลอร์, อ๊อกซาไดอะซอน และอะซีโทคลอร์ (เบติส) เป็นต้น
สารกำจัดวัชพืชประเภทหลังงอก หรือที่เรียกกันว่ายาฆ่าหญ้า
เป็นสารเคมีที่ใช้ฉีดพ่นหลังจากวัชพืชงอกแล้วเกินกว่า 10 วัน ขณะที่ฉีดพ่น ควรให้สารกำจัดวัชพืชสัมผัมกับส่วนของวัชพืชให้มากที่สุด สารกำจัดวัชพืชประเภทนี้ ได้แก่ กลุ่มยา 2,4-ดี โซเดียมซอลท์ (เอชโซนัส 95), ฟิโนซาพรอบ-พี-เอทิล, ไตรโคลเพอร์ บิวทอกซีเอทิล เอสเทอร์ (การ์ลอน) และฮาโลซีฟอป อาร์ เมทิล (กาลแล็นท์) เป็นต้น
วิธีใช้ยาฆ่าหญ้าอย่างถูกวิธี ทำได้อย่างไร
ยาฆ่าหญ้าหรือสารกำจัดวัชพืช เป็นสารที่ใช้เพื่อฆ่าหญ้าหรือยับยั้งการเจริญของวัชพืช มีข้อดี คือ สะดวก รวดเร็ว มีประสิทธิภาพที่ดีในการควบคุมวัชพืช แต่เพื่อความปลอดภัยและความเป็นประโยชน์สูงสุด จึงควรมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสารกำจัดวัชพืช ทั้งเรื่องชนิด การเลือกใช้ และวิธีใช้ยาฆ่าหญ้าที่เหมาะสม
สารออกฤทธิ์ หรือสารสำคัญ หรือ Active ingredient (a.i.) คือ ส่วนของสารเคมีหลัก ที่มีผลในการควบคุมวัชพืช โดยในสารกำจัดวัชพืชต่าง ๆ จะต้องระบุเอาไว้ชัดเจนว่ามีสารออกฤทธิ์เป็นสารใด และมีปริมาณเท่าไหร่
สารผสม หรือ Inert ingredient หมายถึง สารอื่น ๆ ที่ใส่เข้ามาผสมด้วย เป็นสารที่ช่วยส่งเสริมประสิทธิภาพของสารออกฤทธิ์ในทางอ้อม เช่น สารจับใบ สารละลาย สารลดแรงตึงผิว
ชื่อสามัญ หรือ Common name เป็นชื่อที่ตกลงกันไว้ของสารออกฤทธิ์ ที่ไม่ใช่ชื่อทางการค้า เมื่อมีการพูดถึง จะเข้าใจตรงกันว่าเป็นยาชนิดใดในท้องตลาด
สิ่งที่ควรรู้เป็นอันดับแรกเกี่ยวกับสารกำจัดวัชพืช คือ
1.สารออกฤทธิ์ หรือสารสำคัญ หรือ Active ingredient (a.i.) คือ ส่วนของสารเคมีหลัก ที่มีผลในการควบคุมวัชพืช โดยในสารกำจัดวัชพืชต่าง ๆ จะต้องระบุเอาไว้ชัดเจนว่ามีสารออกฤทธิ์เป็นสารใด และมีปริมาณเท่าไหร่
2.สารผสม หรือ Inert ingredient หมายถึง สารอื่น ๆ ที่ใส่เข้ามาผสมด้วย เป็นสารที่ช่วยส่งเสริมประสิทธิภาพของสารออกฤทธิ์ในทางอ้อม เช่น สารจับใบ สารละลาย สารลดแรงตึงผิว
3.ชื่อสามัญ หรือ Common name เป็นชื่อที่ตกลงกันไว้ของสารออกฤทธิ์ ที่ไม่ใช่ชื่อทางการค้า เมื่อมีการพูดถึง จะเข้าใจตรงกันว่าเป็นยาชนิดใดในท้องตลาด
โดยทั้ง 3 ข้อนี้ จะมีระบุอยู่ที่ฉลากของสารกำจัดวัชพืช สามารถใช้เป็นข้อพิจารณา เพื่อการเลือกซื้อสารกำจัดวัชพืชได้ ดังนั้น เมื่อต้องทำการเลือกซื้อ จึงควรดูทั้ง 3 สิ่งนี้ เพื่อประกอบการตัดสินใจในการซื้อ เพื่อที่จะได้ไม่ซื้อสารกำจัดวัชพืชที่ซ้ำกัน หรือออกฤทธิ์แบบเดียวกัน
การจำแนกประเภทของยาฆ่าหญ้า
1 จำแนกตามโครงสร้างทางเคมี แบ่งได้เป็น 2 ประเภท
1.1 ยาฆ่าหญ้า ประเภท สารอนินทรีย์ (Inorganic herbicides) เช่น กรดดินประสิว กรดอาซินิก กรดอาซินิกไดร ออกไซด์ แอมโมเนียมซัลเฟต แอมโมเนียมไทโอไซยาเนต โบแรค คอปเปอร์ซัลเฟด โปแดมเซียมคลอไรด์ โซเดียมคลอไรด์ โซเดียมไดคลอเมด เป็นดัน
1.2 ยาฆ่าหญ้า (Organic herbicides) ประเภท สารอินทรีย์ ซึ่งเป็นที่นิยมใช้กันอย่างกว้างขวาง เนื่องจากมี ประสิทธิภาพ ในการควบคุม วัชพืชแบบเลือกท่าลาย ปลอดภัยต่อพืชปลูก และมักมีระดับความเป็นพิษต่อมนุษย์และ สิ่งแวดล้อม ด่ากว่าสารกำจัดวัชพืชในกลุ่มอนินทรีย์
คุณส่ง
2 จำแนกตามลักษณะทางการใช้กับพืช แบ่งได้เป็น 2 ประเภท
2.1 ประเภทใช้ทางใบ (Foliar applied herbicides) ยาฆ่าหญ้า ประเภทนี้ จะเข้าสู่พืชทางใบหรือยอด โดยต้องใช้ก่อนปลูกพืชประธานด้วยการฉีดพ่น ซึ่งสามารถแยกได้อีก2 ประเภทย่อยคือ
2.1.1 ประเภทสัมผัส ยาฆ่าหญ้าประเภทนี้ จะท่าลายพืชเฉพาะส่วนของที่ได้รับ ยาเข้าไป เช่น สารจําพวก โพรพานิล และ เอ็มเอสเอ็มเอ
2.1.2 ประเภทดูดซึม ยาฆ่าหญ้า ประเภทนี้ เมื่อเข้าสู้ดันวัชพืชก็จะเคลื่อนย้ายไปส่วนต่างๆ ทำให้วัชพืช ถูกทำลาย เช่น 2,4-ดี ไกลโฟเซด ไพราโซซัลฟูรอน และอิมาชาเพอร์ เป็นต้น
2.2 ประเภทใช้ทางดิน (Soiled applied herbicides) ยาฆ่าหญ้า ประเภทนี้ จะเข้าทางราก หรือ ยอดอ่อน ขณะงอก โดยสามารถใช้ก่อนปลูกพืชประธาน หรือพ่นทันทีหลังปลูกพืชประธานแล้ว แต่ก่อนวัชพืชงอก ตัวอย่างสารพวกนี้ ได้แก่ ออกซาไดอะซอน บิวทาคลอร์ อะลาคลอร์ โบรมาซิล ไดยูรอน และเพนติเมทาลิน เป็นต้น
คุณส่ง
3 จําแนกตามการทำลายในพืช
3.1 กลุ่มที่ทำลายเซลล์พืช (Cell membrane disruptors) ออกฤทธิ์ด้วยการทำลายเยื่อหุ้มเซลล์ โดนส่วนใหญ่ จะเป็นสารที่ใช้หลังจากวัชพืชงอก สารกลุ่มนี้เคลื่อนย้ายในเนื้อเยื้อพืชได้จํากัด ท่าลายวัชพืชในเวลารวดเร็ว ไม่มีผลทางดิน วัชพืชที่ถูกสารนี้ จะทำให้เกิดอาการใบเหี่ยวไหม้ และแห้งดาย ตัวอย่างสารในกลุ่มนี้ได้แก่ ไดควอด โฟมีซาเฟน ซีฟลูออร์เฟน ซันเฟนทราโซน คาร์เฟนทราโซน-เอทิล ออกชาไดอะซอน ฟลูมิออกซาซิน เป็นดัน
3.2 กลุ่มที่ควบคุมการเจริญเติบโต (Growths Regulators) มีคุณสมบัติคล้ายฮอร์โมนพืช สารในกลุ่มนี้ สามารถเคลื่อนย้ายไปสะสมบริเวณเนื้อเยื่อ และชักน่าให้เกิดการสังเคราะห์โปรตีนเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งกระตุ้นการแบ่ง เซลล์ ทำให้พืชมีการเจริญเติบโตผิดปกติ ทําให้เนื้อเยื่อโป่งพอง ใบลำต้นบิดเป็นเกลียวหรือแตก ต้นแคระแกร็น ไม่เตริญเติบโตหรือตายได้ ตัวอย่างสารในกลุ่มนี้ได้แก่ 2,4-ดี เอ็มพีซีเอ ไตรโคลเพอร์ ฟลูรอกซีเพอร์ ควันคลอแรก เป็นต้น
คุณส่ง
3.3 กลุ่มที่ยับยั้งการสังเคราะห์แสง (Photosynthetic Inhibitors) เป็นสารที่เข้าไปยับยั้งการสังเคราะห์แสงของวัชพืช ทําให้ไม่สามารถสร้างอาหารเพื่อการเจริญเติบโตได้ สารกลุ่มนี้ ส่วนใหญ่จะมีการ เคลื่อนย้ายภายในต้นพืช โดยสารที่พ่นทางดินจะเข้าทางรากอ่อน ส่วนสารที่พ่นทางใบจะเข้าทางใบ วัชพืชจะแสดงอาการใบเหลืองซีด และในที่สุดจะแห้งทั้งใบ ตัวอย่างสารในกลุ่มนี้ได้แก่ อะทราซีน อะมีทรีน เมทริบูซิน เฮกซะซิโนน โพรพานิล ไดยูรอน เป็นด์น
3.4 กลุ่มยับยั้งสารช่วยสังเคราะห์แสง (Pigment Inhibitors) เป็นสารยับยั้ง การสร้างรงควัตถุ คือแคโรทีนอยด์ ซึ่งมีผลต่อประสิทธิภาพการสังเคราะห์แสง โดยวัชพืชจะแสดงอาการใบซีดขาว ทำให้ไม่สามารถสังเคราะห์แสงได้ จนตายในที่สุด ตัวอย่างสารกลุ่มนี้ได้แก่ มิโซไตรโอน ไอขอกซาฟูลโทล โทพรามิโซน โคลมาโซน เป็นต้น
3.5 กลุ่มยับยั้งการเจริญเติบโตของต้นอ่อน (Seedling growth inhibitors) เป็นสารที่มีผลต่อการแบ่งเซลล์ และการขยายขนาดของเซลล์ ซึ่งอยู่ในกระบวนการแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส เกิดขึ้นบริเวณเนื้อเยื่อเจริญของวัชพืช คือส่วนรากและยอดอน ซึ่งมีผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการ ทําให้วัชพืช ชะงักการเจริญเติบโต และตายใน ที่สุด
สารประเภทนี้ส่วนใหญ่ จะพ่นทางดิน และเข้าสู่วัชพืชทางราก ตัวอย่างสารกลุ่มนี้ได้แก่ อะลาคลอร์ อะซิโทคลอร์ เมโทลาคลอร์ ไดเมทีนามิด ไทโอเบนคาร์บ ไตรฟลูราลิน เพนดิเมทาลิน เป็นดัน
คุณส่ง
3.6 กลุ่มยับยั้งการสร้าง กรดอะมิโนในพืช (Amino acid synthesis inhibitors) เป็นสารที่ยับยั้ง การทํางานของเอนไซม์ ที่เฉพาะเจาะจงกับการสร้างกรดอะมิโน ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำาคัญในการสร้างโปรดิน เมื่อกรดอะมิโนลดลง จะทําให้การเจริญเติบโตของวัชพืชหยุดชะงัก และตายลงในที่สุด ตัวอย่างสารกลุ่มนี้ได้แก่ เมตซัลฟูรอน-เมทิล ไพราโซซัลฟูรอน-เอทิล เอทอกซีซัลฟูรอน นิโคซัลฟูรอน อิมาเพเซอร์ อิมาชาควิน อิมาชาพิก บิสไพริแบก-โซเดียม ไพริเบนซอกซิม ไกลโฟเซต กลูโฟซิเนด-แอมโมเนียม ไดโคลซูแลม เป็นดัน
3.7 กลุ่มยับยั้งการสร้างกรดไขมันในพืช (Lipid syntheis inhibitors) สารในกลุ่มนี้ จะไปยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ acetyl-Coa carboxylase ซึ่งเกี่ยวข้องกับกระบวนการสังเคราะห์แสง กรดไขมันในพืช เป็นสารที่จําเป็น ต่อการสร้างผนังเซลล์และการเจริญเติบโด วัชพืชใบกว้างจะทนสารเหล่านี้ แต่จะมีผลต่อวัชพืชใบแคบมาก โดยสารกลุ่มนี้จะใช้พ่นทางใบและเคลื่อนย้ายได้ในพืช เพื่อวัชพืชได้รับสารนี้ ใบจะเหลืองเหี่ยว และทำให้ต้นตาย ภายใน 10-14 วัน ตัวอย่างสารกลุ่มนี้ได้แก่ ไซฮาโลฟอบ-บิวทิล ฟิโนซาพรอป-พี-เอทิล ฟลูอะชิฟอบ ควิซาโลฟอฟ พี-เอทิล เป็นต้น
คุณส่ง
4 จำแนกตามการเลือกทำลาย แบ่งเป็น 2 ประเภท
4.1 ยาฆ่าหญ้า แบบเลือกทําลาย (Selective herbicides) โดยจะสร้างความเสียหายกับพืชบางชนิด แต่ไม่มีผลกับพืชอีกหลายชนิด ตัวอย่างสารในกลุ่มนี้เช่น 2-4.ดี อะลาคลอร์ ไดยูรอน อะมีทรีน ฟลอะซิฟอฟ-พี-บิวทิลเป็นดัน
4.2ยาฆ่าหญ้า แบบไม่เลือกทําลาย (Non-selective herbicides) ซึ่งทำลายพืชทุกชนิด เมื่อสัมผัสหรือเคลื่อนย้าย เข้าสู่พืช เช่น ไกลโฟเซด และกลูโฟซิเนต-แอมโมเนียมเป็นต้น
ก็อาจจะเกิดความเสียหายทั้งต่อตัว เกษตรกรผู้ใช้ หรือ สิ่งแวดล้อม หรือกระทั่งพืชประธานด้วย ดังนั้น ก่อนใช้งาน จําเป็นที่ท่านต้องศึกษาวิธีใช้อย่างถูกต้อง อ่านฉลากให้เข้าใจก่อนใช้งาน ไม่ใช้เกินอัตรา ที่ระบุ เลือกไข่ ยาฆ่าหญ้า ให้ถูกประเภทกับวัชพืชที่ต้องการกำจัด และอย่าลืมป้องกันตัวท่านเองก่อนฉีดพ่น ทุกครั้ง ด้วยชุดป้องกันที่ได้ มาตรฐาน
ข้อควรปฏิบัติของการใช้ยาฆ่าหญ้า
ควรเลือกใช้ให้ถูกชนิด และถูกวิธี โดยสารกำจัดวัชพืช หรือยาฆ่าหญ้าชนิดนั้น ๆ ต้องเหมาะสม และมีฤทธิ์สารตกค้างในระยะสั้น และควรสลายตัวอย่างเร็ว ไม่ควรที่จะใช้สารเคมีที่มีความรุนแรงจนเกินไป
ควรใช้ยาฆ่าหญ้าเท่าที่จำเป็นเท่านั้น และควรเลือกใช้เพียงชนิดเดียวในการฉีดพ่นในแต่ละครั้ง
ควรอ่านรายละเอียดบนตัวผลิตภัณฑ์ให้ชัดเจนและถี่ถ้วน และควรปฏิบัติตามขั้นตอนของผลิตภัณฑ์นั้น ๆ อย่างเคร่งครัด และหมั่นหาข้อมูลเพิ่มเติมอยู่ตลอดเวลา
ควรสวมเสื้อผ้าป้องกันให้มิดชิด ไม่ว่าจะเป็นหน้ากากอนามัย ถุงมือ ชุดป้องกัน หรือเสื้อผ้าหนา ๆ ไม่ควรใส่เสื้อผ้าสบาย ๆ หรือฟรีสไตล์ ในขณะฉีดพ่น เพราะจะส่งผลกระทบต่อตัวผู้ใช้ได้อย่างง่ายดาย
ทำความสะอาดร่างกายทุกครั้ง หลังจากฉีดพ่นยาฆ่าหญ้าเสร็จทันที เพื่อไม่ให้มีสารตกค้างในร่างกายมากเกินไป
ควรเทส่วนผสมที่ใช้ในปริมาณที่พอเหมาะและพอควร ตามที่ฉลากบนผลิตภัณฑ์นั้น ๆ กำหนด ไม่ควรเทมากหรือน้อยเกินไป และควรเว้นระยะในการเก็บเกี่ยวผลผลิตหลังจากการฉีดพ่นแล้วสักระยะ
ที่สำคัญเลยเมื่อเราทำการฉีดพ่นสารเคมีไปแล้ว ไม่ควรให้บุคคลอื่น หรือตัวเกษตรกรเอง เข้าไปในพื้นที่อย่างเด็ดขาด เพราะอาจจะทำให้ได้รับสารเคมีเข้าสู่ร่างกายได้อย่างรวดเร็ว ควรมีระยะเวลาให้สารเคมีสลายตัวก่อน จึงจะเข้าไปยังพื้นที่ได้ เพราะถ้าเข้าไปในทันทีนั้น สารเคมีจะสะสมในร่างกาย หรือบางรายอาจจะแพ้ จะก่อให้เกิดอันตรายอาจจะถึงแก่ชีวิตก็เป็นได้
สารเคมีกำจัดวัชพืชหรือ ยาฆ่าหญ้า เป็นสารเคมีที่ใช้ในการกำจัดวัชพืชที่ขึ้นหรือกำลังจะเกิดขึ้นในพื้นที่แปลงปลูกพืชผักของเกษตรกรเอง โดยวิธีการใช้นั้นก็ขึ้นอยู่กับตัวเกษตรกรเองว่าจะใช้ในช่วงเวลาไหน แต่ในทางการใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชจะต้องรู้ว่าใช้ในช่วงเวลาอะไร ใช้กับวัชพืชประเภทไหน
การใช้ ยาฆ่าหญ้า หรือสารเคมีกำจัดวัชพืชแบบสุ่มๆ นั้น จะส่งผลเสียที่ตามมาอย่างร้ายแรง และอาจจะก่อให้เกิดปัญหา ทั้งภายในตัวเกษตรกร และสิ่งแวดล้อม การเลือกใช้สารเคมีให้เหมาะสมกับวัชพืชที่ต้องการกำจัดนั้น เป็นทางเลือกที่ไม่ควรนำมาใช้บ่อยมากนัก เพราะไม่ได้ส่งผลดีอะไรมากมาย ควรจะเป็นทางเลือกที่ 2 เมื่อกำจัดวัชพืชไม่ทันแล้วจริงๆ จะดีกว่า
คุณสมบัติของ ยาฆ่าหญ้า
ยาฆ่าหญ้าหรือยากำจัดวัชพืช เป็นสารเคมีชนิดหนึ่งที่เกษตรกรนำมาใช้ในการกำจัดวัชพืชที่ขึ้นอยู่ตามแปลงผักและผลไม้ที่ทำการเพาะปลูก เพราะเป็นสารเคมีที่ใช้ได้ง่ายและรวดเร็วในการกำจัดวัชพืชที่ขึ้นอยู่ตามแปลงผักหรือในสวนผลไม้ ทำให้มีการใช้กันอย่างแพร่หลายในอดีต
ปัจจุบันเองก็ยังมีการใช้ยาฆ่าวัชพืชร่วมกับยาฆ่าแมลงอยู่เป็นแหล่งๆ แต่ทั้งนี้นอกจากจะส่งผลต่อตัววัชพืชที่ขึ้นแล้ว เกษตรกรที่ใช้สารเคมีจำพวกนี้นั้นก็มีการส่งผลต่อตัวเกษตรกรเองด้วย เนื่องจากการฉีดพ่นสารเคมีลงไปในแปลงนั้น ละอองสารเคมีก็จะย้อนเข้ามาสู่ตัวเราตามชั้นผิวหนังได้ง่าย อีกทั้งดินที่ปลูกพืชผลทางการเกษตรก็จะส่งผลเสียได้ในระยะยาว
ยาฆ่าหญ้าหรือยากำจัดวัชพืชนั้นมีหลากหลายชนิด หลายยี่ห้อ ความรุนแรงของมันนั้นอาจจะไม่ได้ส่งผลในทันที แต่คนภายนอกจะสังเกตได้ว่าผู้ที่ใช้หรือตัวเกษตรกรที่ใช้สารเคมีประเภทนี้จะมีผลอย่างไรต่อสภาพผิวหนังและสุขภาพภายใน นอกจากนี้ยังส่งผลต่อผู้บริโภคหลายคนที่ไม่ได้ตรวจสอบให้ดี เพราะในปัจจุบันมีการรณรงค์ให้เลิกใช้สารเคมีในการกำจัดวัชพืชมากมาย และให้หันมาใช้อินทรียวัตถุในการกำจัดแทน
นอกจากนี้สารเคมีหรือยาฆ่าหญ้าที่ส่งผลอันตรายอย่างร้ายแรงก็มีการให้ยกเลิกใช้ไปบ้างแล้วในหลายรุ่น เพราะนอกจากส่งผลเสียต่อตัวเกษตรกรเองแล้วนั้น ยังส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมโดยรวมอีกด้วย การเลือกใช้ยาฆ่าวัชพืชนั้นตามหลักการแล้วควรใช้ให้ถูกประเภท ถูกวิธี และเลือกใช้ให้น้อยที่สุดเท่าที่ทำได้ จะยิ่งส่งผลดีต่อทุกฝ่าย
ยาฆ่าหญ้าหรือยากำจัดวัชพืช คือ กลุ่มสารเคมีที่ใช้ในการกำจัดวัชพืชเพื่อไม่ให้วัชพืชนั้นสามารถโตได้ตามต้องการ โดยทั้งนี้ยากำจัดวัชพืชหรือยาฆ่าหญ้าที่ดีนั้นควรจะใช้ให้ถูกจุดประสงค์และเฉพาะเจาะจงต่อวัชพืช ที่สำคัญเลย คือ ต้องไม่ทำลายพืชหลักที่ปลูกอยู่ในแปลงนั้นๆ อีกทั้งต้องสามารถสลายตัวได้อย่างรวดเร็ว ไม่ก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศ น้ำ และทางดิน โดยต้องทำให้ผู้บริโภคมั่นใจมากที่สุดว่าไม่มีสารตกค้างแม้แต่ในดิน
วิธีการใช้ยาฆ่าหญ้า
โดยหลักๆ แล้วจะแบ่งเป็น 2 ประเภท และมีการแยกย่อยวิธีการใช้และเห็นสมควรของแต่ละประเภท โดย 2 ประเภทหลักนี้ คือ ประเภทยาฆ่ายาแบบสารสังเคราะห์ และแบบอินทรียวัตถุ โดยทั้ง 2 กลุ่มนี้จะมีลักษณะและวิธีการใช้ที่แตกต่างกันออกไป ผลข้างเคียงก็จะแตกต่างกันออกไปตามความรุนแรงของสารเคมีที่นำมาใช้ในการฆ่าวัชพืชด้วย
นอกจากนี้การใช้ยาฆ่าหญ้ายังจะต้องแบ่งประเภทและช่วงเวลาที่จะให้ชัดเจน จะใช้แบบสุ่มๆไม่ได้เด็ดขาด เพราะเราไม่รู้ว่าการใช้ยาฆ่าหญ้าหรือยากำจัดวัชพืชผิดประเภท ผิดเวลา จะส่งผลเสียอะไรต่อตัวเรา และผลผลิตบ้าง ฉะนั้นแล้วควรต้องฟังคำเตือนหรืออ่านคำเตือนเวลาใช้อย่างเคร่งครัด
สารเคมีแบบสารสังเคราะห์แบ่งประเภทการใช้ได้ดังนี้
ยาฆ่าหญ้าประเภทก่อนปลูกพืช โดยยาฆ่าหญ้าหรือยากำจัดวัชพืชประเภทนี้จะเป็นสารเคมีใช้ฉีดพ่นก่อนการเตรียมดินปลูก เพื่อเป็นการฆ่าวัชพืชหรือหญ้าในดินที่มีการขึ้นอยู่ก่อนแล้ว หลังจากนั้นจึงทำการไถเตรียมดิน หรือใช้ยาฆ่าหญ้าพ่นฆ่าวัชพืชแทนการเตรียมดินได้เลย โดยสารประเภทนี้ ได้แก่ ไกลโฟเซท, พาราควอท โดยจะเป็นสารที่มีลักษณะดูดซึมเพื่อใช้ป้องกันการเกิดขึ้นของวัชพืชหรือหญ้า
ยาฆ่าหญ้าประเภทก่อนงอก หรือเรียกอีกอย่างว่า ยาคุมหญ้า โดยสารเคมีประเภทนี้จะฉีดหลังจากการปลูกพืชไป
แล้ว และก่อนที่วัชพืชจะเกิดขึ้นใหม่ในระยะไม่เกิน 10 วัน โดยจะฉีดพ่นลงดินโดยตรง สารเคมีประเภทนี้จะเข้าไปทำลายวัชพืชในส่วนของเมล็ด ราก และยอดอ่อน ในดิน และต้องทำการฉีดพ่นเฉพาะช่วงที่สภาพดินนั้นมีความชื้นที่เหมาะสม ไม่เหมาะกับการฉีดพ่นลงในดินที่มีความแห้งแล้ง สารเคมีจำพวกนี้ ได้แก่ บิวทาคลอร์, เพรททิลาคลอร์, อ๊อกซาไดอะซอน โดยเหมาะกับการใช้กำจัดวัชพืชหรือหญ้าที่เป็นประเภทใบแคบและกว้าง
ยาฆ่าหญ้าประเภทหลังวัชพืชงอก เรียกตรงตัวว่า ยาฆ่าหญ้า โดยการใช้สารเคมีประเภทนี้จะเริ่มใช้ต่อเมื่อตัววัชพืช
นั้นเริ่มงอกขึ้นมาแล้วได้ประมาณ 10 วันขึ้นไป การฉีดพ่นนั้นควรให้สารเคมีสัมผัสวัชพืชให้ได้มากที่สุด โดยสารประเภทนี้ ได้แก่ ฟิโนซาพรอบ-พี-เอทิล 2.4-ดี
การกำจัดวัชพืชในแปลงผัก
ควรเตรียมดินและปรับสภาพดินให้อยู่ในพื้นที่ที่มีความสม่ำเสมอกัน เพื่อที่การฉีดพ่นสารเคมีให้เกิดประสิทธิภาพและได้อย่างทั่วถึง นอกจากนี้ควรใช้ถูกที่ ถูกเวลา ถูกชนิด และถูกวิธี เพื่อที่จะไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่างๆ และสามารถควบคุมการใช้งานของสารเคมีได้ก่อนที่จะเริ่มการใช้ยาฆ่าวัชพืชหรือยาฆ่าหญ้าควรอ่านข้อควรระวัง และวิธีใช้งานอย่างถี่ถ้วน และควรปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด อีกทั้งควรจะสวมเสื้อผ้าให้มิดชิด และใส่หน้ากากกันสารเคมีในขณะที่พ่น หลังจากพ่นสารเคมีแล้วไม่ควรทิ้งดินไว้นานเกิน 3 วัน และควรเติมน้ำเข้านาภายในระยะเวลา 3 วัน เพื่อป้องกันการเกิดดินแห้ง เพราะถ้าดินแห้งจะทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานของสารเคมีชนิดนั้นๆ ลดลง
สารเคมีชนิดดูดซึม โดยจะอยู่ในกลุ่ม ไกลโฟเซต และกลุ่ม 2.4-ดีโซเดียมซอลท์ โดยทั้ง 2 ตัวนี้จะมีหน้าที่เข้าไปทำลายได้ ทั้งชนิดใบกว้างและใบแคบของวัชพืช หลังจากฉีดพ่นสารเคมีแล้ว ตัววัชพืชจะทำการดูดซึมสารเคมีเข้าไปและจะเริ่มทำลายส่วนต่างๆ อย่างช้าๆ และเริ่มเห็นผลในสัปดาห์ที่ 3 และไม่ควรฉีดพ่นช่วงฝนตกนาน 4-6 ชั่วโมง นอกจากนี้ถ้าวัชพืชยังเป็นต้นอ่อนหรือมีอายุไม่มาก กลุ่มสารเคมีไกลโฟเซตจะไม่ค่อยได้ผลมากนักกับวัชพืชอายุน้อย
สารเคมีชนิดเผาไหม้หรือสัมผัสตาย โดยอยู่ในกลุ่มพวกพาราควอต เป็นสารเคมีที่ทำหน้าที่เผาทำลาย หรือหากวัชพืชโดนก็จะตายลงภายในระยะเวลา 2-3 ชั่วโมง โดยกลุ่มนี้เกษตรกรของไทยมักนิยมใช้ในพืชไร่ เพราะสามารถออกฤทธิ์ได้อย่างรวดเร็ว ทำให้วัชพืชแห้งตายเร็ว โดยสารเคมีตัวนี้จะเริ่มสลายตัวภายในระยะเวลา 3 สัปดาห์ เมื่อถูกแดดจัด แต่ถ้าฉีดพ่นลงดินโดยตรงจะไม่มีผลการทำลายเกิดขึ้น เพราะดินจะจับตัวสารเคมีทำให้ประสิทธิภาพลดลง นอกจากนี้สารเคมีชนิดนี้ไม่มีผลต่อพืชหลักแต่อย่างใด
ขั้นตอนการกำจัดวัชพืชในแปลงผัก
การกำจัดวัชพืชแบบอินทรียวัตถุสามารถทำได้หลากหลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการพลิกดิน การขุดต้นหญ้าหรือดึงทิ้ง การใช้น้ำส้มสายชู และการใช้ปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ ซึ่งวิธีต่างๆ นี้เป็นการฆ่าหญ้าโดยไม่ส่งผลกระทบต่อตัวเกษตรกรและผู้บริโภคเอง เนื่องจากเป็นวิธีทางธรรมชาติ ปลอดภัย และไร้กังวลกับการปนเปื้อนสารเคมี ทั้งในดิน และพืชผลทางการเกษตร อย่างแน่นอน
แต่วิธีนี้ส่วนใหญ่เกษตรกรไทยไม่ค่อยนิยมนำมาใช้เพราะเห็นผลช้า เสียเวลาในการทำงานอย่างอื่น แต่ก็เริ่มมีเกษตรกรที่หันมาใส่ใจสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ จึงเริ่มมีการหันมาใช้วิธีการแบบธรรมชาติกันมากขึ้นพอสมควร แต่ก็ยังไม่ได้มากเท่าวิธีการใช้สารเคมีมากนัก แต่เนื่องจากการใช้ยาฆ่าหญ้าแบบสารสังเคราะห์นั้นเริ่มมีการจับปรับ ทำให้การใช้วิธีทางธรรมชาติเริ่มเป็นที่เปิดกว้างในหมู่เกษตรกรมากขึ้น
–การพลิกดิน ทำโดยการขุดลงไปในดินไปจนถึงรากของต้นหญ้าเพื่อพลิกดินขึ้นมา และให้หญ้านั้นกลบลงไปในดินที่มีความร้อนอยู่แล้ว วิธีนี้จะช่วยยับยั้งการเติบโตของหญ้าได้เป็นอย่างดี และควรทำในเวลากลางคืนหรือช่วงพระอาทิตย์ตกดิน เพราะถ้าทำในช่วงที่มีแสงแดดจะทำให้พืชนี้ถูกกระตุ้นการเจริญเติบโตได้เร็ว
–การขุดหญ้าทิ้ง วิธีนี้เป็นวิธีง่ายๆ ไม่ยุ่งยาก แต่เสียเวลาในการดึง เพราะต้องออกแรงดึงหญ้าให้หลุดมาทั้งโคนต้น เพื่อที่จะเอารากและเมล็ดที่หลงเหลือนั้นโยนทิ้งไปให้ห่างไกลแปลงของต้น หรือจะใช้กรรไกรตัดหญ้าก็ได้ วิธีนี้ควรทำในช่วงที่ดินมีความชุ่มชื้น เพราะจะทำให้ดึงหญ้าออกได้ง่าย ข้อเสียของวิธีนี้ คือ ถ้าดึงต้นหญ้าออกมาไม่หมดจะทำให้หญ้าสามารถกลับมาเกิดซ้ำได้เร็วอีก
–การใช้น้ำส้มสายชู นำน้ำส้มสายชูเทลงในต้นหญ้าให้ชุ่ม แล้วเริ่มสังเกตหลังจาก 1-2 อาทิตย์ ว่าต้นหญ้าตายหรือไม่ ถ้าเจอต้นหญ้าที่ตายให้ทำการดึงออกได้ทันที แต่ถ้ายังไม่ตายก็สามารถรดน้ำส้มสายชูลงได้เรื่อยๆ ซึ่งวิธีนี้อาจจะเสียเวลาหน่อย แต่ประหยัดต้นทุนในการใช้ และไม่ทิ้งสารตกค้างไว้อย่างแน่นอน และทำให้มั่นใจได้ว่าปลอดสารเคมีอย่างแน่นอน
–การใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพ ซึ่งวิธีนี้ก็ไม่ได้มีขั้นตอนอะไรมากมาย เพียงนำน้ำหมักชีวภาพหรือปุ๋ยหมักชีวภาพมาฉีดพ่นลงแปลงพืชผัก ก่อนที่จะเริ่มทำการปลูก และคลุกดินให้ทั่วๆ แปลง จากนั้นฉีดพ่นซ้ำหรือน้ำปุ๋ยหมักมาโรยก่อนที่จะเริ่มปลูก และนำต้นหญ้าออก ก็สามารถช่วยในการยับยั้งการเจริญเติบโตของวัชพืชได้เป็นอย่างดี ซึ่งวิธีนี้นอกจากจะช่วยประหยัดต้นทุนได้มากแล้ว ยังช่วยลดมลพิษ และไม่ก่อให้ตัวเองมีสารเคมีสะสมในร่างกายได้
ข้อดีและข้อเสียของยาฆ่าหญ้า
การใช้ยาฆ่าหญ้านั้นนอกจากจะส่งผลในระยะยาวแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อตัวเกษตรกรผู้ที่ใช้อีกด้วย ทั้งนี้ยาฆ่าหญ้าสามารถเข้าสู่ร่างกายของผู้ใช้ได้ โดยการเข้าสู่ทางผิวหนังของผู้ใช้ การสูดลมหายใจเข้าไป และการกลืนกินหรือดื่มน้ำ โดยแต่ละวิธีนี้จะมีเข้าสู่ร่างกายที่แตกต่างกันไป โดยการกลืนกินนั้นจะพบมากในช่วงที่ฉีดพ่นสารเคมีและละอองของสารเคมีนั้นไปตกอยู่น้ำดื่มบ้าง หรือแม้กระทั่งอาหารที่เกษตรกรนำไปด้วยบ้าง
นอกจากนี้ผลกระทบทางอ้อมนั้นก็จะส่งผลให้คนรอบข้างที่เดินผ่านไปมาในบริเวณใกล้เคียงได้รับสารเคมีโดยการสูดเอาอากาศที่มีละอองสารเคมีเข้าสู่ร่างกายแบบไม่รู้ตัว นอกจากนี้ยังส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมทั้งในพื้นที่แปลงเกษตร และสภาพอากาศ ที่จะทำให้เกิดดินเสื่อมโทรม อากาศเป็นพิษ ภาวะโลกร้อนจากการใช้สารเคมีเป็นประจำ
การเกิดพิษแบบเฉียบพลันจะเกิดขึ้นเมื่อได้รับสารเคมีในปริมาณที่มากแบบทันที จะก่อให้เกิดอาการปวดศรีษะ มึนงง และคลื่นไส้อาเจียน เป็นตะคริว หายใจติดขัด และอาการอาจรุนแรงขึ้นถึงขั้นเสียชีวิตได้
นอกจากนี้ยังมีแบบเกิดอาการรุนแรงเฉพาะจุดและแบบเรื้อรัง ซึ่งถ้าเป็นอาการเฉพาะจุดจะเกิดขึ้นในบริเวณที่โดนสารเคมีชนิดนั้นบ่อย อาจจะทำให้เกิดอาการระคายเคืองต่อผิวหนังและอาการแพ้ หรือมีรอยไหม้แดง หรือในกรณีที่เป็นหนักหน่อยก็จะทำให้สามารถหลุดเป็นแผ่นๆได้
ส่วนในกรณีที่เป็นแบบเรื้อรัง กรณีนี้จะแสดงผลค่อนข้างช้า แต่จะมาเริ่มทราบภายหลังเมื่อได้รับพิษไปแล้ว อาจจะกินระยะเวลานานเป็นเดือน หรือเป็นปี ขึ้นอยู่กับการต้านทานในร่างกายของแต่ละคน อาจจะก่อให้เกิดอาการเป็นหมัน หรือเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ มะเร็ง หรือพาร์กินสัน ได้ ในกลุ่มของ paraquat จะมีการผสมสีฟ้าลงและสารทำให้อาเจียนลงไป เพื่อป้องกันมิให้สับสนกับเครื่องดื่ม เพราะหากรับประทานเข้าไปอาจมีผลกระทบรุนแรงต่อปอด ตับ หรือไตวาย ได้
โดยทั่วไปแล้วหากไม่มีอาการรุนแรงมากนัก เมื่อผู้ที่ได้รับพิษจากสารเคมีให้นำผู้ที่ได้รับพิษนั้นนอนในที่ร่มโดยให้ห่างจากแปลงที่พ่นยาฆ่าหญ้า และให้ทำความสะอาดร่างกายในส่วนที่โดนสารเคมีด้วยสบู่หรือน้ำสะอาด แต่ในกรณีที่มีอาการรุนแรงถึงขั้นหัวใจเต้นอ่อน ควรจะรีบนำส่งโรงพยาบาล หรือถ้าหากหัวใจหรือชีพจรเต้นช้าให้ทำการผายปอดเบื้องต้น เพื่อให้หัวใจนั้นสามารถกลับมาทำงานได้ปกติ และรีบนำส่งโรงพยาบาลในทันที ที่สำคัญเมื่อนำส่งโรงพยาบาลแล้วจะต้องบอกรายละเอียดของสารเคมีชนิดนั้นว่าชื่ออะไร ประเภทไหน ให้ได้มากที่สุด หรือถ้ามีฉลากของผลิตภัณฑ์นั้นไปด้วยก็จะเป็นการดี
https://www.palangkaset.com/%E0%B8%9C%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%A9%E0%B8%90%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88/%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%86%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%8D%E0%B9%89%E0%B8%B2-1/
15 ส.ค. 2567
16 ส.ค. 2567
15 ส.ค. 2567
16 ส.ค. 2567