Last updated: 29 ส.ค. 2567 | 31 จำนวนผู้เข้าชม |
ชีวิตของคนยุคใหม่ต่างไปจากคนยุคก่อนมาก โดยเฉพาะคนในเมืองใหญ่ ๆ ที่วิถีชีวิตเต็มไปด้วยเรื่องยุ่ง ๆ จนทำให้ไม่มีเวลาและโอกาสในการเลือกกิจกรรมสำหรับพักผ่อนหย่อนใจในรูปแบบที่จะได้พักกายพักใจจริง ๆ กิจกรรมยามว่างของคนส่วนใหญ่จึงหนีไม่พ้นการไถมือถือ อยู่กับสังคม social หรือเล่นเกมออนไลน์ ซึ่งหลายคนก็เริ่มเกิดอาการสมาธิไม่ค่อยดี ประสาทสัมผัสทำงานได้น้อยลงมีโอกาสป่วยด้านสุขภาพกายและสุขภาพจิตตามมา ซึ่งอาการเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณบ่งถึงอาการของโรคขาดธรรมชาติ (Nature-Deficit Disorder: NDD)
โรคขาดธรรมชาติ (Nature-Deficit Disorder: NDD) เป็นคำที่เกิดขึ้นมาในปี ค.ศ. 2005 โดย Richard Louv ผู้เขียนหนังสือ “Last Child in the Woods: Saving Our Children From Nature-Deficit Disorder” ซึ่งเป็นหนังสือที่ชี้ชวนให้เห็นถึงความสำคัญของการได้มีโอกาสไปสัมผัสกับธรรมที่ส่งผลดีต่อร่างกายและจิตใจของคนเรา อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการได้ไปสัมผัสธรรมชาติในลักษณะของป่า เขา น้ำตก ลำธาร ทะเล และหาดทราย จะเป็นกิจกรรมที่ช่วยชาร์จพลังใจได้ดีเยี่ยม แต่ก็ใช่ว่าทุกคนจะสะดวกไปสัมผัสธรรมชาติในลักษณะดังกล่าว ดังนั้นกิจกรรมที่ง่ายที่สุดที่สามารถทำได้โดยไม่ต้องใช้อุปกรณ์ใด ๆ ก็คือการเดินเล่นในสวนที่มีการดูแลจัดวางพืชพรรณซึ่งมองดูแล้วรู้สึกผ่อนคลาย
ปลูกไม้ดอกสีสันสดใสหลากหลายชนิดที่ออกดอกในช่วงเวลาต่างกัน ช่วยสร้างความตื่นเต้นแปลกใหม่แก่ผู้ที่โศกเศร้าให้ได้รับความเบิกบานและมีกำลังใจในทุกวัน
พืชบางชนิด เช่น มินต์ ทาร์รากอน เสจ และโรสแมรี่ ที่มีกลิ่นเฉพาะที่ช่วยให้รู้สึกผ่อนคลาย เวลาคุณรดน้ำก็จะพลอยได้กลิ่นหอมของพืชนั้นไปด้วย
เมื่อลมพัดผ่านใบไม้บางชนิด เช่น ใบหลิว จะสีกันจนเกิดเสียงที่ให้ความรู้สึกผ่อนคลาย (แต่จะรับรู้ได้ดีที่สุดในย่านพักอาศัยที่สงบ ปราศจากเสียงรบกวนจากภายนอก)
ปลูกมอสส์บนก้อนหิน ช่วยให้ความรู้สึกดีแก่ผู้พบเห็นแม้ไม่ได้สัมผัส และเมื่อสัมผัสก็ให้ความรู้สึกผ่อนคลายได้อย่างน่ามหัศจรรย์
เงาไม้สามารถให้แสงรำไรและลดอุณหภูมิจากแสงแดดได้เทียบเท่ากับตาข่ายกรองแสง (Shading Net) 50 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว ทั้งยังทำให้เกิดสุนทรียภาพในการชมสวนและทำกิจกรรมต่าง ๆ ขณะเดียวกันก็จำเป็นต้องตัดแต่งกิ่งไม้ให้โปร่ง เพื่อให้ลมพัดผ่านลงมาได้ และไม่เป็นที่อยู่อาศัยของยุง
อ้างอิง:https://www.istrong.co/single-post/benefits-of-a-walk-in-the-park-on-mental-health
16 ส.ค. 2567
15 ส.ค. 2567
15 ส.ค. 2567
16 ส.ค. 2567